Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

เด็กดื้อ อาการที่พบได้บ่อย และการแก้ไข



เด็กดื้อ อาการที่พบได้บ่อย คือ ไม่เชื่อฟัง พูดไม่เชื่อ ทำหูทวนลม โต้เถียง ต่อต้าน ทำตรงกันข้าม หรือรุนแรงก้าวร้าว อาการดื้อที่ส่งผลให้ผู้ปกครองรู้สึกเดือดร้อนและเป็นอารมณ์ได้มากๆ

สาเหตุมีหลายประการคือ

1. เป็นพัฒนาการปกติของเด็กวัยขวบที่ 2 ที่เด็กกำลังเรียนรู้และทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองยังไม่ใช่ “ดื้อ” เพียงแค่เขาอยากเป็นตัวของเขาเอง บางครั้งเด็กยังไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่พูดสอน เด็กจะเรียนรู้โดยการเลียนแบบ ควรสอนด้วยการกระทำมากกว่าการพูดห้าม เพราะการห้ามเด็กทำสิ่งนั้นสิ่งนี้บ่อยๆ เด็กจะเบื่อและทำปฏิกิริยาโต้ตอบไม่ทำตาม
วัยย่างเข้าวัยรุ่น เป็นวัยที่ต้องการสิทธิส่วนตัวและอิสระบ้าง ไม่อยากให้คนอื่น”ยุ่ง” กับเขา มากเกินไป เด็กเริ่มคบหาเพื่อน ทำให้มีความเห็นและการทำตัวที่แตกต่างไปและนำไปสู่ความขัด แย้ง ถ้าห้ามมากเกินไปเด็กจะต่อต้าน

2. การปฏิบัติของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่บังคับตีกรอบออกคำสั่งมากเกินไป เด็กทำตามไม่ได้ คับข้องใจ อาจมีพฤติกรรม “หูทวนลม” หรือก้าวร้าวตอบโต้

3. ปกป้องมากไป บางคนกลัวลูกผิดพลาด เลยทำให้ทั้งหมด จนเด็กไม่สามารถช่วยตัวเองได้ กลายเป็นเด็กเฉื่อยชาไม่รับผิดชอบ ต้องมีคนควบคุม

4. ผู้ใหญ่ปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ เด็กจะสับสน ทำอะไรไม่ถูก จึงใช้การ “ไม่ปฏิบัติ” โดยใช้การต่อรอง ผัดผ่อน ดื้อดึง และอาละวาด เป็นต้น เพื่อทดสอบปฏิกิริยาของผู้ใหญ่ว่าจะเอาจริงแค่ไหน

5.เด็กถูกทอดทิ้งละเลย ทำให้รู้สึกว่าไม่มี ใครรัก ไม่มีความสุข กังวลใจ หมดกำลังใจที่จะทำตามความคาดหวังของผู้ใหญ่ จะมีพฤติกรรมเฉื่อย ดื้อต่อต้านได้

6. ผู้ใหญ่รุนแรงกับเด็ก เช่น ทำโทษรุนแรง ประณาม สบประมาท ทำให้เด็กรู้สึกโกรธอยาก กลั่นแกล้ง แก้แค้น และยั่วยุให้ผู้ใหญ่โกรธ

7. เด็กมีความบกพร่องทางร่างกาย เช่น ความปกติทางการได้ยิน ทางเชาว์ปัญญา ทำให้ไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่พูด หรือสมาธิสั้น ฟังผู้ใหญ่พูดไม่จบทำให้ มีปัญหาไม่ทำตาม

8. การสื่อความหมายของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่บางรายไม่พูดตรงๆ บ่นมากหรือพูดสั้นจนเด็กไม่เข้าใจ จุดประสงค์หรือความหมายปฏิบัติตามไม่ถูก บางครั้งผู้ใหญ่ใช้ช่วงเวลาไม่เหมาะสม เช่นเด็กกำลังสนใจ อย่างอื่น จึงไม่ได้สนใจทำสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้ทำ

9. มีความสัมพันธ์ไม่ดีต่อกัน ถ้าเด็กและผู้ใหญ่ไม่มีความรักและความนับถือเป็นพื้นฐาน ก็ย่อมนำไปสู่การไม่เชื่อฟังได้ง่าย

10. เด็กถูกตามใจมากเกินไป บางครั้งเด็กสามารถข่มขู่ผู้ใหญ่ได้ ยิ่งถ้ายอมตามใจเพื่อไม่ให้อาละวาด เด็กจะยิ่งดื้อไม่เชื่อฟัง และเคยกับการตามใจตัวเอง จะทำให้ปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ยาก

หลักในการแก้ไขและป้องกัน
1. ยอมรับธรรมชาติของเด็ก แต่ละวัย

2. ไม่เอาชนะเด็กตรงๆ ควรมีเทคนิคชักจูง
ให้เด็กอยากทำ การบอกซ้ำๆ หรือคะยั้นคะยอ จะเร้าอารมณ์ทำให้เด็กต่อต้าน ผู้ใหญ่ไม่ควรคาดหวัง ให้เด็กทำตามทันที ควรให้เวลาและโอกาสด้วย

3. หลีกเลี่ยงการต่อล้อต่อเถียงที่จะนำไปสู่การทะเลาะวิวาท จนเกิดเหตุรุนแรง และลงเอยด้วย
การทำโทษเด็ก การกระทำแบบนี้จะนำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน เป็นเหตุสำคัญของการดื้อต่อต้าน

4.ผู้ใหญ่ควรมีท่าทีจริงจัง ผู้ใหญ่ทำให้เด็กดื้อโดยไม่รู้ตัวอยู่บ่อยๆ เช่น เมื่อสั่งแล้วเด็กไม่ทำผู้ใหญ่ทำให้เอง เด็กจะกลายเป็นคนเพิกเฉย ไม่ใส่ใจคำพูด ของผู้ใหญ่

5. ไม่พูดถึงเด็กในทางลบบ่อยๆเด็กจะรู้สึกเป็นจริงตามที่ผู้ใหญ่พูด เช่น “เขาเป็นเด็กดื้อ ไม่ฟังใคร” แต่ควรส่งเสริมให้เด็กเห็นข้อดีด้านบวก ในตนเอง เช่น “เขาเป็นเด็กดีมีน้ำใจ” “ชอบช่วยงานบ้าน”

6. สร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดี อยู่เสมอ การที่เด็กรู้ว่า มีคนรู้และเข้าใจเขา เด็กจะรู้สึกมั่นคงได้รับความรักตอบสนอง ทำให้เคารพและเชื่อฟัง

7. การจะให้เด็กร่วมมือในการกระทำสิ่งใดๆ เราต้องให้เขารู้ว่า เราร่วมมือกับเขาด้วย อย่าขัดเด็กพร่ำเพรื่อ ให้ความรู้สึกเห็นดีเห็นงาม และตกลงไปกับเขาบ้าง เหตุผลต่างๆที่ให้กับเด็กควรให้ด้วยหลักการ ที่เป็นไปได้และด้วยความรู้สึกที่เป็นมิตรกับเขาเสมอ

บทความโดย รพ.สวนปรุง http://www.suanprung.go.th/sp_story/index22.html
เรียบเรียงข้อมูลใหม่โดย manman

รายการบล็อกของฉัน