Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

น้ำผลไม้กับสุขภาพเด็ก

น้ำผลไม้กับสุขภาพเด็ก
ปัจจุบัน น้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มที่เด็กนิยมดื่มกันมากขึ้น ผู้ปกครอง สามารถเตรียมให้หรือซื้อหาน้ำผลไม้ที่บรรจุภาชนะชนิดต่างๆ ได้ง่าย บางครอบครัว ทารกที่อายุต่ำกว่า ๖ เดือน ก็อาจได้ดื่มน้ำผลไม้แล้ว                                                                                                                                                          

จากการสำรวจของทันตแพทย์หญิงจันทนา  อึ้งชูศักดิ์ และคณะ เกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มต่างๆ ของเด็กแรกเกิด-๕ ขวบ จำนวน ๙๓๗ คน จาก ๕ จังหวัด ที่มาจากภาคต่างๆ โดยใช้แบบบันทึกอาหาร สัมภาษณ์ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็ก พบว่าเด็กแรกเกิดถึงอายุ ๒ ขวบ นอกจากนมแม่แล้ว เด็กยังดื่มนมรสหวานถึงร้อยละ ๓๕.๑ เด็กอายุ ๓-๕ ปี นิยมดื่มนมเปรี้ยวถึงร้อยละ ๖๒ เครื่องดื่มรสหวานร้อยละ ๑๐.๘ และน้ำอัดลมร้อยละ ๓๗.๑
      
รู้จักน้ำผลไม้
น้ำผลไม้สามารถเตรียมขึ้นเองหรือมีขายในบรรจุ-ภัณฑ์ต่างๆ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒๑๔) พ.ศ.๒๕๔๓ ได้กำหนดมาตรฐาน "น้ำผลไม้"   ในบรรจุภัณฑ์ให้เป็นเครื่องดื่มที่มีหรือทำจากผลไม้ พืชหรือผัก เป็นเครื่องดื่มไม่ว่าจะมีก๊าซคาร์บอนไดออก-ไซด์ หรือออกซิเจนผสมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม และเป็นเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท รวมทั้งเป็นอาหารที่ควบคุมเฉพาะ
                     
คุณภาพ น้ำผลไม้ นอกจากจะไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้ เกิดโรคและไม่มีสารปนเปื้อนแล้ว การใช้น้ำตาลหรือวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลให้เป็นไปตามมาตรฐาน  Joint FAO/WHO Codex  การแสดงฉลากของเครื่องดื่ม  กำหนดไว้ว่า
๑. น้ำผลไม้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ให้เป็นเครื่องดื่มที่มีหรือทำจากผลไม้ล้วน
๒. น้ำ ผลไม้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ จากน้ำผลไม้เข้มข้น สำหรับเครื่องดื่มที่ทำจากการนำผลไม้ชนิดเข้มข้นมาเจือจางด้วยน้ำ เพื่อให้มีคุณภาพหรือมาตรฐานเหมือนเครื่องดื่มข้อ ๑.
๓. น้ำผลไม้ (ระบุเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้น) สำหรับเครื่องดื่มที่มีหรือทำจากผลไม้ตั้งแต่ร้อยละ ๒๐ ของน้ำหนักขึ้นไป แต่ไม่ใช่เครื่องดื่มตามข้อ ๑.

ส่วนประกอบของน้ำผลไม้

โดย ทั่วไปน้ำผลไม้จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก คาร์โบไฮเดรตในน้ำผลไม้จะเป็นผลรวมของน้ำตาล ซูโครส ฟรักโทส กลูโคส และซอร์บิทอล (sorbitol) โดยมีปริมาณระหว่าง ๗-๑๖ กรัมต่อ ๑๐๐ ซีซี. มีโปรตีนและแร่ธาตุค่อนข้างน้อย
                    
น้ำผลไม้บาง ชนิดมีโพแทสเซียม วิตามินเอ โฟเลต และวิตามินซีสูง ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น เครื่องดื่มน้ำผลไม้ที่มีวิตามินซี (ascorbic acid) เมื่อดื่มพร้อมอาหารจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารดีขึ้น นอกจากนี้น้ำผลไม้จะไม่มีไขมัน คอเลสเทอรอลหรือใยอาหาร ส่วนปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำผลไม้มักแปรตามปริมาณน้ำที่ใช้ในการเตรียมน้ำผลไม้
                   
จาก การศึกษาของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์พิภพ จิรภิญโญ และคณะ  ได้ทำการวิเคราะห์น้ำผลไม้ ในบรรจุภัณฑ์ที่ขายในท้องตลาด จำนวน ๔๐ ชนิด พบว่ามีน้ำตาลซูโครส ๒-๑๑๒ กรัมต่อลิตร กลูโคส ๒๐-๕๘ กรัมต่อลิตร  ฟรักโทส ๕-๗๕ กรัมต่อลิตร และพบน้ำตาล ซอร์บิทอลมากที่สุดในน้ำลูกพรุน (คือ ๖๗-๑๔๙ กรัมต่อลิตร) น้ำผลไม้ส่วนใหญ่มีค่าความเข้มข้น (วิเคราะห์จากค่าออสโมลาริตี้ระหว่าง ๕๐๐-๑,๒๐๐ มิลลิออสโมล ต่อลิตร)
                    
การ ศึกษาของแพทย์หญิงนฤมล เด่นทรัพย์-สุนทร และคณะ พบว่าน้ำผลไม้สดส่วนใหญ่ไม่มีซูโครส (ยกเว้นน้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ล น้ำสับปะรด) มีความเป็น   กรด และปริมาณโซเดียมน้อยกว่า แต่มีโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียมในปริมาณมากกว่าน้ำผลไม้ บรรจุภัณฑ์ ซึ่งความแตกต่างของชนิดน้ำตาลและปริมาณความเข้มข้นของน้ำผลไม้เหล่านี้มีผล ต่อการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตและน้ำในระบบทางเดินอาหาร
      
การดูดซึมคาร์โบไฮเดรตจากน้ำผลไม้จาก การศึกษาวิจัยพบว่าชนิดของคาร์โบไฮเดรตในน้ำผลไม้มีผลต่อการดูดซึมคาร์โบ ไฮเดรตในลำไส้ โดยขึ้นกับสัดส่วนของปริมาณน้ำตาลฟรักโทส : กลูโคส ในน้ำผลไม้ ซึ่งถ้ามีค่ามากกว่า ๑ : ๑ เช่น พบในน้ำลิ้นจี่ร้อยละ ๒๕ น้ำแอปเปิ้ล น้ำแพชชั่นฟรุต ถ้าดื่มมากไปทำให้เกิดอาการท้องเดิน  ส่วน sugar alcohol ซึ่งได้แก่ซอร์บิทอล ไซลิทอล (xylitol) ที่อาจพบได้ในน้ำลูกพรุน น้ำองุ่น หรือน้ำลูกแพร์  เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีอัตราการ ดูดซึมน้อยและช้า ถ้าได้รับปริมาณที่มากเกินก็อาจก่อให้เกิดปัญหาท้องเดินได้เช่นกัน ดังนั้น การให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดู เด็กในการเสริมน้ำผลไม้แก่เด็กเพื่อลดปัญหาท้องผูก จำเป็นต้องพิจารณาชนิดและปริมาณของน้ำผลไม้ที่เหมาะสม
      
ความสัมพันธ์ของน้ำผลไม้ต่อสุขภาพเด็ก
มี งานวิจัยต่างๆ ทั้งที่เป็นการศึกษาภาคตัดขวางและการศึกษาติดตามผลระยะยาว พบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างการดื่มเครื่องดื่มรสหวานต่างๆ และน้ำอัดลม กับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักเด็ก ที่เป็นผลจากการได้รับพลังงานจากเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ซึ่งในเครื่องดื่มเหล่านี้จะมีน้ำผลไม้รวมอยู่ด้วย และเด็กที่เดิมมีภาวะโภชนาการเกินอยู่แล้ว  ถ้าหากดื่มน้ำผลไม้มากเกินไปจะพบว่าสัมพันธ์ทางบวกกับการเพิ่มไขมันร่างกาย ด้วย  แต่ประเด็นนี้ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากน้ำผลไม้ ยังคงเป็นแหล่งที่สามารถให้วิตามินและแร่ธาตุแก่ผู้ดื่มได้
                      
อย่าง ไรก็ตาม เด็กที่ดื่มน้ำผลไม้มากโดยเฉพาะน้ำผลไม้ที่มีการเติมน้ำตาลหรือสารให้ความ หวานลงไป  จะทำให้เด็กได้รับน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปและเกิดฟันผุ ในต่างประเทศ เช่น สมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดแนวทางแก่ผู้ปกครองว่า        
                      
๑. ไม่ ควรให้น้ำผลไม้แก่ทารกโดยเฉพาะทารกที่อายุน้อยกว่า ๖ เดือน และควรให้เสริมเฉพาะในอาหารมื้อหลักเท่านั้นและไม่ให้น้ำผลไม้พร่ำเพรื่อ ตลอดทั้งวัน หรือให้ก่อนเวลานอน  เมื่อฟันซี่แรกของเด็กขึ้นแล้ว ไม่ควรให้น้ำผลไม้เกิน ๒๔๐ ซีซี.ต่อวัน และหัดให้เด็กดื่มจากแก้วแทนการดูดจากขวด
นอกจากนี้ ช่วงแรกเกิดถึงอายุ ๒ ขวบครึ่ง ให้หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม และให้ทำความสะอาดปากเด็กด้วย ผ้านุ่มๆ ภายหลังได้รับอาหารหรือเครื่องดื่มต่างๆ                     
                      
๒. จำกัด ปริมาณน้ำผลไม้ไม่เกิน ๑๒๐-๑๘๐ ซีซี. ต่อวัน ในเด็กอายุ ๑-๖ ปี และไม่เกิน ๒๔๐-๓๖๐ ซีซี.   ต่อวันในเด็กอายุ ๗-๑๘ ปี และให้เป็นน้ำผลไม้ที่เตรียมอย่างสะอาด      
                      
๓. ควรส่งเสริมให้เด็กกินผัก-ผลไม้สดทุกวัน                           
ขณะ นี้ประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับปริมาณการดื่มน้ำผล ไม้ในเด็ก แต่จากการที่พบว่าทั้งเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียนมีอัตราฟันผุค่อนข้าง สูง ดังนั้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยโภชนาการและมูลนิธิสาธารณ-สุขแห่งชาติ ได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการกินอาหารว่างของเด็กว่า เด็กไม่ควรกินอาหารว่างเกิน ๒ มื้อต่อวัน และให้ปริมาณน้ำตาลในอาหารว่าง (ซึ่งอาจเป็นน้ำตาล จากขนมหรือเครื่องดื่มต่างๆ) นั้นมีไม่เกิน ๒๔ กรัมต่อ   วัน (๖ ช้อนกาแฟ) หรือ ๑๒ กรัม (๓ ช้อนกาแฟ) ต่อมื้อ และแนะนำให้เด็กกินผลไม้สดซึ่งจะให้ประโยชน์มากกว่า
                     
นอก จากนี้ การส่งเสริมด้านนโยบายสุขภาพในครอบครัว สถานเลี้ยงดูเด็ก โรงเรียนและชุมชนซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ในการลดการได้รับน้ำตาลจากอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ โดยเฉพาะน้ำ-  ผลไม้ที่มักมีการเติมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานลงไป ซึ่งทำได้โดยให้คำแนะนำและกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านอาหารแก่ผู้ปกครองและผู้ เลี้ยงดูเด็ก และให้มีมาตรการจำกัดไม่ให้มีตู้หยอดเหรียญขายเครื่องดื่มรสหวานและน้ำอัดลม ตลอดจนการจัดหาน้ำดื่มสะอาดที่เพียงพอในสถานเลี้ยงเด็กและ โรงเรียน รวมทั้งจำกัดการโฆษณาและการขายเครื่องดื่มน้ำผลไม้รสหวานต่างๆ
                    
มาตรการเหล่านี้จะเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยลดปริมาณการได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มและส่งผลดีต่อสุขภาพเด็กในระยะยาว
เอกสารอ้างอิง
๑. จันทนา อึ้งชูศักดิ์  บุบผา ไตรโรจน์ สุภาวดี พรหมมา.  รายงานการจัดกิจกรรมรณรงค์ "วันครอบครัวอ่อนหวาน" ในส่วนภูมิภาค. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ๒๕๔๗.
๒. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.  คำแนะนำเรื่อง "ขนมและอาหารว่างสำหรับเด็ก ๒ ปีขึ้นไป" วารสารโภชน-บำบัด ๒๕๔๙; ๑๗(๑) : ๙-๑๑.
๓. Jirapinyo P, Phosuya P, Thammonsiri N, Pidacha P, Suwanthol L,  Patrarat  S. Carbohydrate and electrolyte contents in     commercial fruit juice. J Med Assoc Thai 2001; 84 : 942-7.
๔. Densupsoontorn N, Jirapinyo P, Thammonsiri N, et al.      Comparison of the nutrient content of fresh fruit juice vs    commercial fruit juices. J Med Assoc Thai 2002; 85 (suppl.2) : 732S-8S.
๕. Hyames JS, Etienne NL, Leitchtner AM, Theuer RC. Carbo-hydrate malabsorption following fruit juice ingestion in young children. Pediatric 1988; 82(1) : 64-8.
๖. Southgate DAT. Digestion and metabolism of sugars. Am J Clin Nutr 1995; 62(suppl) : 203S-11S.
๗. Dennison BA, Rockwell HL, Baker SL. Excess fruit juice     consumption by preschool-aged children is associated with short stature and obesity. Pediatrics 1997; 99 : 15-22.
๘. Dennison BA, Rockwell HL, Nichols MJ, Jenskins P. Children's growth parameters vary by type of fruit juice     consumed. J Am Coll Nutr 1999; 18 : 346-52.
๙. Committee on Nutrition. American Academy of Pediatrics. The use and misuse of fruit juice in pediatrics. Pediatrics 2001; 107(5): 1210-3.

รายการบล็อกของฉัน