Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

เด็กมีพฤติกรรมต่อต้านหรือประท้วง

เด็กออทิสติกจะมีอารมณ์อ่อนไหวมาก ถ้าไม่พอใจหรือโกรธแม้แต่เรื่องเล็กน้อยเด็กก็อดไม่ได้ที่จะส่งเสียงร้อง โวยวาย และบางรายอาจมีพฤติกรรมต่อต้านที่แสดงออกถึงความไม่พอใจอีกหลายอย่าง ได้แก่ การปัสสาวะราด การขว้างปาสิ่งของ เป็นต้น การที่เด็กมีพฤติกรรมเหล่านี้ เกิดจากสภาวะอารมณ์ที่เด็กไม่สามารถควบคุมตนเองได้ หรือจากภาวะความวิตกกังวลหรือความเครียดที่เด็กไม่ได้ตามที่ต้องการ ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง จึงได้มีการแสดงพฤติกรรมเพื่อสนองตอบความต้องการของตนเองด้วยการประท้วง ปัสสาวะราดบ่อย ๆ ทุกครั้งที่ถูกขัดใจ การกัดและทำร้ายตนเอง เล่นน้ำลาย และการขว้างปาสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว เพื่อแสดงถึงความอึดอัดคับข้องใจที่เด็กไม่สามารถเล่าความรู้สึกของตนเองและ ความต้องการให้ผู้อื่นทราบออกมาได้ เด็กจึงแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ออกมาในลักษณะต่าง ๆ เช่น ขี้โมโห เอาแต่ใจตนเอง ก้าวร้าว ไม่ทำตามกฎกติกาและทำร้ายตนเองแทน
จากพฤติกรรมประท้วงเป็นเหตุนำมาซึ่งความเดือดร้อน วุ่นวาย ทั้งแก่ตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้องตลอดจนสภาพแวดล้อม เราจึงควรหันมาให้ความสำคัญและสนใจที่จะช่วยเหลือเด็กจากสภาวะอารมณ์ที่ เปลี่ยนแปลงนี้ โดยการทำความเข้าใจกับเด็กและครอบครัว พร้อมทั้งค้นหาวิธีการจัดการกับความรุนแรงของปัญหาดังนี้ ดังต่อไปนี้
1. เราจะต้องมีอารมณ์ที่สงบ ควบคุมสติให้ได้
2. เราจะยอมรับอารมณ์ความรู้สึกอึดอัดคับข้องใจของเด็ก แต่เราจะไม่ยอมให้เด็กแสดงพฤติกรรมประท้วงด้วยความรุนแรง และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่าง โดยเราจะพูดและแนะนำให้เด็กแสดงออกอย่างเหมาะสม 
3. เมื่อเด็กมีพฤติกรรมประท้วง เราจะให้เด็กรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เด็กทำลงไป เช่น เช็ดพื้นบริเวณที่เขาปัสสาวะราด และเปลี่ยนเสื้อผ้า พร้อมทั้งนำไปใส่ถังผ้าเอง
4. เมื่อเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายตนเองและทำลายสิ่งของ ร่วมกับการปัสสาวะประท้วง อย่าพยายามส่งเสริมความรุนแรงไปที่ตัวเด็ก เช่น การดุ การตี เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งเร้าให้เด็กหงุดหงิด และแสดงพฤติกรรมประท้วงมากขึ้น
5. ควรแยกเด็กออกจากกลุ่มเพื่อนๆแทน เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม นำเด็กไปอยู่ในสถานที่ปลอดภัย ไม่มีสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายแก่เด็กได้
6. การทำกิจกรรมที่เด็กชอบ จะเป็นสิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจและนำมาปรับพฤติกรรมของเด็กได้ดี เช่น การร้องเพลง ฟังเพลง เพื่อให้เด็กอารมณ์เย็นลง สามารถควบคุมอารมณ์ที่หงุดหงิดลงได้
7. จัดกิจวัตรประจำวันของเด็กให้เป็นเวลา ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา และเมื่อเด็กเริ่มแสดงอาการประท้วง ผู้ดูแลพยายามพูดคุยซักถามความต้องการของเด็ก และคอยประเมินภาวะอารมณ์ของเด็กขณะนั้นด้วย
8. ชมเชยเมื่อเด็กควบคุมตนเองได้ และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
9. สอนให้เด็กหัดควบคุมอารมณ์ตนเอง เช่น นับ 1-10 หรือเขียนลงในกระดาษแล้วขยำทิ้ง และสอนให้เด็กหัดบอกความรู้สึก ความต้องการออกมา
10. ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในครอบครัว

รายการบล็อกของฉัน