กำลังจะจมทะเลหมู่เกาะ San Bernardo
ประเทศโคลอมเบียเป็นหนึ่งในเกาะที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเสี่ยงจมไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ
มันก็เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์นะครับเมื่อน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในไม่อีกกี่ปีข้างหน้า พื้นแผ่นดินหรือเกาะที่อยู่ต่ำกว่าทะเลน้ำทะเลก็จะเข้ามาแทนที่ถ้าไม่มีระบบการป้องกันถึงแม้มีระบบ
การป้องกันก็ไม่สามารถที่จะต่อสู้หรือป้องกันน้ำทะเลที่มีมากมายมหาศาลได้แน่นอนมันก็คงจะเข้ามาท่วมแล้วเกาะๆนั้นก็จะจมทะเลหายไป สั่งตัวอย่างเกาะSan Bernardo
ประเทศโคลอมเบียเป็นหนึ่งในเกาะที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเสี่ยงจมไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ
บางเกาะก็เคยจมหายไปแล้วในอดีต
ชาวบ้านหลายคนจะต้องเห็นบ้านของตนจมไปใต้น้ำทะเลในไม่ช้า
หมู่เกาะ San Bernardo
อยู่ทางตะวันตกของประเทศโคลอมเบีย
มีเกาะเล็กน้อยรวมกัน 10 เกาะ
และอยู่ในพื้นที่เขตอุทยานของประเทศ
มีประชากรอาศัยรวมกัน 1,500 คน
เกาะเหล่านี้อยู่ท่ามกลางแนวปะการังที่สลับซับซ้อนและป่าชายเลนเขาวงกตที่หนาแน่นสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยเพียง 2 เมตร (6 ฟุต)บางเกาะมีขนาดเล็กกว่าสนามฟุตบอลสองสนามรวม
กันอีก
จากการคาดการณ์ว่าในปี 2050
ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะสูงขึ้น 30 เซนติเมตรผู้คนในหมู่เกาะ San Bernardoจึงต้องเผชิญกับวิกฤตที่วันหนึ่งบ้านของพวกเขาจะจมหายไปอยู่ใต้ทะเล
ซึ่งก่อนหน้านี้ เกาะบางแห่งในหมู่เกาะก็ได้หายไปแล้วด้วยระดับน้ำที่สูงขึ้น
เกาะที่เหลือก็ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะและการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล ความเป็นกรด
และความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลที่หายไป
อันเนื่องมาจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
ประชากรปลาที่ชาวบ้านต้องพึ่งพา
ตกมาเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวก็หร่อยหรอลงทุกวัน
แต่นอกจากประชาชนที่จะไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่ทำกินแล้วระบบนิเวศที่สมบูรณ์ก็อาจหายไปด้วยอย่างเช่นในอดีต เกาะ Maravilla ที่รู้จักกันในนามว่า
“เกาะนก” ด้วยความที่มีนกอพยพมาที่นี่มากมายได้จมหายไปในปี 2017 ตอนนี้ไม่มีเกาะนี้แล้วหลงเหลืออยู่แต่เพียงที่ให้นักท่องเที่ยวไปดำน้ำ
นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเริ่มหันไปปลูกป่าชายเลนและฟื้นฟูป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมจำนวนมาก
โดยหวังว่าจะช่วยให้หมู่เกาะของพวกเขาต่อสู้กับกระแสน้ำที่เพิ่มขึ้นและแนวชายฝั่งที่กำลังถดถอยได้
นี่เลยเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าทำไมประเทศที่จะโดนผลกระทบก่อนถึงอยากให้มีกองทุน Loss and Damageภัยพิบัติเหล่านี้ก็ทำให้ประเทศผู้ได้รับผลกระทบยากที่จะปรับตัว
และเหล่าประเทศที่จะได้รับความสูญเสียและเสียหาย
ก่อนจะเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศหมู่เกาะพวกเขาจะได้รับผลกระทบหนักสุดกองทุนนี้จะช่วยพวกเขาให้สร้างโครงสร้างพื้นฐานรับมือกับสถานการณ์ แต่จะเน้นไปที่การเยียวยาหลังจากที่เกิดภัยพิบัติ เช่น
เยียวยาเรื่องการเกษตร
และเน้นฟื้นฟูสิ่งที่พังทลายกลับคืนมา
รวมทั้งฟื้นฟูระบบนิเวศเดิมด้วย
ซึ่งในการประชุม COP27
ประเทศฝั่งตะวันตกยอมรับผิดชอบทางการเงินต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตัวเองผ่านการตกลงจัดตั้ง
กองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหายทางสภาพอากาศ (Loss and Damage Fund) แล้วแต่ว่าก็ยังไม่มีแผนการที่เป็นรูปธรรมและรายละเอียดที่ว่าประเทศไหนจะต้องจ่ายบ้างจะนำ
มาคุยกันอีกครั้งในการประชุม COP28 ที่จะถึงใน 30พฤศจิกายน ถึง 12 ธันวาคมนี้แทน
Antonio Guterres เลขาธิการสหประชาชาติแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกองทุนนี้ว่า“ยินดีกับการตัดสินใจที่จะจัดตั้งกองทุนว่าด้วยการสูญเสียและเสียหาย และจะจัดให้มีการใช้ในอนาคตอย่างไรก็ตาม แต่เห็นได้ชัดว่า นี่อาจยังไม่เพียงพอยังคงต้องมีการแสดงทีท่าจากฝั่งการเมืองอีกเพื่อที่จะรื้อฟื้นความเชื่อใจที่หายไปให้กลับคืนมา
เสียงของประชาชนแนวหน้าที่เผชิญกับปัญหาสภาพภูมิอากาศก่อนควรเป็นที่รับฟัง ซึ่ง UNจะคอยช่วยสนับสนุนทุก ๆ ขั้นตอน”